วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556


    การสื่อสารในครอบครัว



รูปแบบของการสื่อสาร
1 ผู้กล่าวโทษผู้อื่น / คนช่างติ (Blamer)
- ภายนอกดูเสมือนมีอำนาจ ภายในรู้สึกโดดเดียวไม่ประสบความสำเร็จ ความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ


2 .ผู้ยอมตามผู้อื่น/คนสยบยอม
- ภายนอกเสมือนให้บริการ ภายในไม่มีคุณค่าถ้าไม่ได้ดูแลผู้อื่น
- ความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ฉันอยากให้ใครรักฉัน เข้าใจฉัน

3. คนเจ้าเหตุผล
- ภายนอกเสมือนฉลาด ภายในไม่มั่นคง อ่อนแอ
- คุณค่าในตนเอง ต่ำ

4 ผู้ขัดคอคนอื่น / คนพูดไม่เข้าขา
- ภายนอกดูเสมือนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ภายในไม่มีใครแคร์ ไม่มีใครใส่ใจ มีความเหงา ขาดจุดมุ่งหมาย คุณค่าตนเองต่ำสุด
- บุคคลประเภทนี้ ชอบทำเป็นไม่เข้าใจ ถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์


5. คนเข้าใจคน
- ภายนอกสมดล ภายในรู้สึกดี คุณค่าในตนเองสูง


การสื่อสารในครอบครัว 3 ชนิด

ชนิด
ขั้นตอน
ผลที่ได้
1.)การสื่อสารในชีวิตประจำวัน
1.แสดงความต้องการอย่างเปิดเผย
2.ถามความรู้สึกนึกคิดของเขา
3.แสดงความขอบคุณเมื่อเขาตอบสนอง
เพิ่มความผูกพันในชีวิตครอบครัว
2.)การสื่อสารเมื่อมีความขัดแย้งในความคิดหรือความต้องการที่ไม่ตรงกัน
1.บอกความรู้สึกและปัญหา
2. ถึง 4 เช่นเดียวกับชนิดที่1.)
แก้ไขความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
3.)การสื่อสารเมื่ออีกฝ่ายอยู่ในสภาวะอารมณ์ที่ไม่ดี
1.สะท้อนความรู้สึกของเขาที่เราสังเกตเห็น
ลดความกดดันและกลับมาพูดคุยกันได้ตามปกติ



            การสื่อสารในครอบครัว 
 นายแพทย์ยงยุทธ  วงศ์ภิรมย์ศานติ์  ได้เสนอไว้ 3 กรณี  ดังนี้
1.) การสื่อสารในชีวิตประจำวันของครอบครัว  ซึ่งถือเป็นทักษะพื้นฐานที่ทุกคนในครอบครัวควรเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้ได้ไม่ยาก สรุปเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
          1. แสดงความต้องการอย่างเปิดเผย ฉันอยากไปทายข้าวนอกบ้าน
          2. ถามความรู้สึกนึกคิดของอีกฝ่าย เธอว่าไง
          3. แสดงความขอบคุณเมื่อเขาตอบสนอง ขอบคุณ
2.)การสื่อสารเพื่อแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว  สรุปได้เป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
          1. บอกความรู้สึกและปัญหา ผมรู้สึกไม่สนุกเลยที่พบเพื่อนเก่าของคุณ
          2. แสดงความต้องการอย่างเปิดเผย ผมขอไม่ไปงานเลี้ยงรุ่นศิษย์เก่าของคุณ
          3. ถามความรู้สึกนึกคิดของเขา คุณว่าไง
          4. แสดงความขอบคุณเมื่อเขาตอบสนอง ขอบคุณที่คุณไม่ว่าอะไร
3.)การสื่อสารเมื่ออีกฝ่ายโกรธ หรือขับข้องใจ  ในครอบครัวย่อมจะมีบ้างบางครั้งคราวที่พ่อแม่อยู่ในอารมณ์ไม่ดี หรือเมื่อเราสื่อสารดี ๆ กับเขาแล้วเขายังตอบสนองในทางใช้อารมณ์ซึ่งนับว่าเป็นสถานการณ์ที่ล่อแหลม เป็นตัวการขยายความขัดแย้งให้รุนแรงและทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกัน  ทางเลือกในสถานการณ์ดังกล่าวนี้มีหลายประการด้วยกัน  พ่อแม่อาจใช้วิธีหลีกเลี่ยงสถานการณ์ไปก่อนจนกว่าเขาจะอยู่ในสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้น  บางคนอาจใช้อารมณ์ขันเป็นตัวบรรเทาบรรยากาศให้สงบลง หรืออาจใช้การแสดงทางภาษาท่าทาง เช่น จับมือ หรือจับต้นแขน  เพื่อแสดงความเห็นใจหรือปลอบให้เขาสงบ  แต่ทางเลือกที่สำคัญและได้ผลดีอันหนึ่งก็คือ อาศัยทักษะการสื่อสาร ด้วยการสะท้อนความรู้สึกของเขาโดยมีหลักดังนี้
          ทักษะ  สะท้อนความรู้สึกของเขาที่เราสังเกตได้ในขณะนั้น
          วัตถุประสงค์   เพื่อแสดงความเห็นใจและให้เขารู้ว่าเราเข้าใจเขา
          วิธีการ  ดูคุณ...(ความรู้สึกที่เราสังเกตเห็น)  ดูคุณกำลังอารมณ์ไม่ดี เลยนะ
                                                          ดูคุณโกรธที่ผมไม่ไปงานศิษย์เก่ากับคุณ




เทคนิคในการให้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว
เทคนิคการตั้งคำถามเวียน(Circular questioning)
       การตั้งคำถามเวียนเป็นเทคนิคหรือเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้สมาชิกในครอบครอบครัวได้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของสมาชิกแต่ละคนในครอบครัว  ผู้ให้คำปรึกษาครอบครัวอาจเริ่มต้นด้วยการแสดงความรู้สึกกับเรื่องที่เกิดขึ้น  แล้วให้สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนได้แสดงความรู้สึกเวียนกันจนครบทุกคน

เทคนิคการมองมุมมองใหม่ (Reframing)
             จุดมุ่งหมายของการสร้างมุมมองใหม่  (Reframing)  ก็คือ  การทำให้เกิดการ
เปลี่ยนการรับรู้ใหม่ในพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว  ด้วยการเคารพในพฤติกรรมและทำให้เกิดการสร้างสรรค์   ส่งผลทางด้านบวกแก่พวกเขาเอง  ผู้ให้คำปรึกษาได้ช่วยให้สมาชิกในครอบครัวได้เปลี่ยนการรับรู้ใหม่  ผู้ให้คำปรึกษาให้ลดการตำหนิโดยการเน้นเจตนาที่ดี 

เทคนิคเส้นลวดประสบการณ์ (the wire experience)
             จุดประสงค์เพื่อให้บุคลได้มีโอกาสย้อนกลับไปดูประสบการณ์ในอดีตที่แตกต่างกัน 
ช่วงใดช่วงหนึ่ง ที่เกิดความตึงเครียด  หรือช่วยชีวิตที่ผ่านมา  โดยใช้เส้นลวดเป็นอุปกรณ์
             เส้นลวดมีคุณสมบัติอ่อน  ยืดหยุ่นได้  ดัดได้ง่าย  คงรูปอยู่ในสภาพที่เราต้องการ
ได้  อาจใช้เส้นลวดที่มีสีแตกต่างกันก็ได้  ตัดให้มีความยาว 9 ฟุตแจกให้คนละ 1  เส้น  ขอร้องให้แต่ละคนมองเส้นลวดของตนเอง  เส้นลวดจะเป็นตัวแทนของช่วงชีวิตแต่ละคน  หรือเป็นตัวแทนช่วงชีวิตทั้งหมดของบุคคลก็ได้  ตัวอย่างเช่น  ช่วง  10 ปีที่ผ่านมา  ช่วงที่เกี่ยวพาราสี  (The  courtship  period)  ช่วงปีกของการแต่งงาน  ช่วงเวลาที่มีลูกคนแรก  หรือช่วงอื่น ๆ  อย่างไรก็ตามทำให้เราได้เห็นความแตกต่างของประสบการณ์ในช่วงชีวิตที่ผ่านมา หลังจากทำเสร็จแล้ว  ขอร้องให้แต่ละคนได้แชร์คำตอบ  หรือเรียนรู้เกี่ยวกับช่วงชีวิตของตนเองที่เลือกสรรมาแล้ว  อธิบายหรือพรรณนาส่วนที่โค้งงอ  บิดเป็นเกลียว

เทคนิคเชือกความสัมพันธ์(Ropes)
             เชือกจะถูกใช้เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ภายในครอบครัว  เป็นเทคนิคที่ดีที่จะแสดง
ให้เห็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งในระบบครอบครัว  สมาชิกในครอบครัวจะได้รับเชือกเส้นสั้น ๆ     ผูกไว้ที่เอวของแต่ละคน  เชือกเป็นตัวแทนของความสัมพันธ์ที่ถ่ายทอดไปยังสมาชิกภายในครอบครัว  จนกระทั่งแต่ละคนมีเชือกเพิ่มมากขึ้นราวกับว่ามีสมาชิกในครอบครัวมากขึ้น            หรือแม้แต่ปลายสุดของเส้นเชือกจะผูกไปยังสมาชิกครอบครัวอื่นก็ได้  สมาชิกของครอบครัวก็จะรู้ว่าเขาจะติดต่อสัมพันธ์กันอย่างไร  และความตึงเครียดจะเกิดขึ้นที่เส้นเชือกอย่างไร  ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ  เป็นเสมือนตัวอย่างที่ทำให้ระบบของครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
             เป้าหมายของเทคนิคนี้  เพื่อต้องการให้สมาชิกของครอบครัวได้เห็นการมีส่วนร่วม 
สังเกตความสำคัญของการใช้เชือกอย่างสมเหตุสมผล  มิฉะนั้นมันจะทำให้ติดพันกันยุ่งยากกันอย่างมาก  หรือตึงกันเกินไป  บางครั้งสมาชิกในครอบครัวไม่สามารถมองเห็นหรือเข้าใจได้  ถึงความต้องการอิสระในความสัมพันธ์ภายในครอบครัว  แต่เชือกที่ผูกติดกันตึง  ผูกติดกันอย่างเหนี่ยวแน่นและสับสน  เชือกจึงสามารถเอามาใช้แสดงให้เห็นความรู้สึกมีส่วนร่วมของชีวิตในครอบครัว  คำตอบที่สมาชิกของครอบครัวได้รับจะเกิดการเรียนรู้จะผ่อนคลายความตึงของเชือก  สามารถเรียนรู้ผ่านไปยังความจริงในชีวิตได้
              เชือกสามารถใช้แสดง  อุปมาหรืออธิบายถึงรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์  ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ หรือสัมพันธภาพ  เมื่อความต้องการของครอบครัวได้ถูกหยิบยกขึ้นมา  สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวจะมีส่วนช่วยกันอย่างไร  ที่จะทำให้ความตึงเครียดในครอบครัวที่เกิดขึ้น จะถูกเปลี่ยนรูปนำไปสู่การผ่อนคลายที่ดีขึ้น 

เทคนิคการวาดภาพครอบครัว(Family Drawings)
               เทคนิคในการวาดภาพครอบครัวมี  3  ลักษณะ  ขึ้นอยู่กับผู้ให้คำปรึกษาจะเลือกใช้ลักษณะแรกเป็นการรวมภาพวาดอย่างง่ายของครอบครัว  (join  family  scribble)  วิธีนี้ผู้ให้คำปรึกษาจะให้สมาชิกครอบครัวแต่ละคนวาดภาพอย่างง่าย ๆ หวัด ๆ เกี่ยวกับครอบครัว  จากนั้นก็เอาภาพวาดของแต่ละคนมาเสนอรวมกันเป็นภาพรวมของครอบครัว  ในกระบวนการนี้สมาชิก    ได้ประสบการณ์และเรียนรู้ที่จะทำงานของตัวเองและทำงานร่วมกันฉันท์ครอบครัว  แล้วนำเอาประสบการณ์และความรู้สึกดังกล่าวมาอภิปรายร่วมกัน  ลักษณะที่สอง  เป็นการให้สมาชิกครอบครัววาดภาพสิ่งที่เขาหรือเธอ รับรู้เกี่ยวกับตัวเองในครอบครัว  แล้วนำมาอภิปรายร่วมกัน  (conjoint  family  drawing)  การวาดภาพลักษณะนี้ผู้ให้คำปรึกษาจะเป็นผู้สั่งให้สมาชิกแต่ละคนวาดภาพตามการรับรู้เกี่ยวกับตนเองในครอบครัว ตัวอย่างเช่น น้องชายคนเล็กอาจจะรับว่าพี่ชายคนโตใกล้ชิดกับพ่อแม่มากกว่าตัวเขา  ภาพวาดของเขาก็จะสะท้อนให้เห็นความแตกต่างของความใกล้ชิดกับพ่อแม่ระหว่างเขากับพี่ชายของเขา  ลักษณะที่สาม  เป็นการวาดภาพโดยการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ  เพื่อชี้ให้เห็นช่องว่างในครอบครัว  (symbolic  drawing  of  family  life  space) การวาดภาพแบบนี้มีลักษณะเป็นเทคนิคการฉายภาพ  (projective  technique)  อย่างหนึ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาจะวาดวงกลมใหญ่วงกลมหนึ่ง  แล้วบอกให้สมาชิกครอบครัววาดทุกอย่างที่เป็นตัวแทนของครอบครัวเอาไว้ในวงกลมนั้น  สำหรับบุคคลและสิ่งอื่น ๆ   ที่ไม่เป็นตัวแทนของครอบครัวหรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวให้วาดเอาไว้นอกวงกลม  ในกิจกรรมนี้ผู้ให้คำปรึกษาจะขอให้ครอบครัววาดภาพสมาชิกของครอบครัวในวงกลมใหญ่  และวางตำแหน่งความใกล้ชิดและความห่างไกลตามที่ครอบครัวรับรู้  หลังจากวาดเสร็จผู้ให้คำปรึกษาก็ให้ครอบครัวอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับภาพนั้น
จะเห็นได้ว่าการวาดภาพทั้ง  3  ลักษณะ เมื่อวาดภาพเสร็จแล้วจะต้องตามมาด้วย
การอภิปรายว่า  ครอบครัววาดอะไรลงไปเป็นภาพและทำไมจึงวาดภาพนั้น  ระยะห่างและระยะใกล้ชิดระหว่างบุคคล  และหรือวัตถุมีความหมายอย่างไร  จุดมุ่งหมายก็เพื่อที่จะให้ครอบครัวได้สำเร็จพลวัต  (dynamics)  ของชีวิตครอบครัวจากการรับรู้ของสมาชิกแต่ละคน  และจากครอบครัวโดยส่วนรวม  (เมธินินทร์  ภิณญูชน.  2539 : 105 106)

เทคนิคปฏิมากรรม(Sculping)
เทคนิคการประติมากรรม  (Sculpting)  คือ   การให้สมาชิกครอบครัวแสดงท่าทาง
ต่าง ๆ  เพื่อแสดงลักษณะของสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นจริงในครอบครัวตามการรับรู้ของสมาชิกคนใดคนหนึ่งหรือมากกว่า  สมาชิกทุกคนทำตัวเองราวกับดินเหนียวที่ใช้ในการปั้นสิ่งต่าง ๆ   เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกที่ได้รับบทบาทให้เป็นผู้ปั้นหรือปฏิมากร  (sculptor) ทำหน้าที่ปั้นแต่งท่าทางของคนอื่น ๆ  ตามการรับรู้ของผู้นั้น  ในกระบวนการนี้  เหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตและรูปแบบของพฤติกรรมต่าง ๆ   ที่กระทบต่อครอบครัวจะถูกนำมาปั้นเพื่อให้สามารถรับรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น  ยกตัวอย่างเช่นในครอบครัวซึ่งพ่อติดรายการโทรทัศน์มากและไม่ให้ความเอาใจใส่ต่อลูกชายเลยซึ่งเป็นเหตุการณ์ในอดีต  แต่ลูกชายซึ่งขณะนี้โตแล้วและจำได้ว่าตัวเองไม่ได้รับการเอาใจใส่  รู้สึกถูกทอดทิ้งอาจจะจัดรูปปั้นออกมาดังนี้  พ่ออาจถูกจัดให้นั่งใกล้กับวัตถุอะไร   สักอย่างซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโทรทัศน์  แล้วลูกชายคนนี้ แยกไปนั่งห่างออกไปอยู่มุมใดมุมหนึ่งของห้อง  เมื่อปั้นเสร็จแล้วจะได้ภาพนิ่งจำลอง  (Still  life portrait) ภาพนิ่งจำลองนี้จะช่วยให้สมาชิกครอบครัวและผู้ให้คำปรึกษาเห็นภาพที่ชัดเจน  ของความสัมพันธ์ภายในครอบครัว  การใช้เทคนิคประติมากรรมต้องอาศัยขั้นตอน  4  ขั้นตอน  และบทบาทประกอบดังต่อไปนี้
<!--[if !supportLists]-->            <!--[endif]-->          การเลือก  เหตุการณ์หรือฉากที่จะเสนอ  ผู้ให้คำปรึกษาจะช่วยสมาชิกครอบครัว
ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปั้นในการเลือกเหตุการณ์หรือฉากการเลือกตัวละคร  (role  players)  เพื่อแสดง  การสร้างงานประติมากรรมซึ่งผู้ปั้นจะทำหน้าที่ในการจัดสมาชิกแต่ละคนวาง
ตำแหน่งเฉพาะที่มีความหมาย หลังจากปั้นภาพที่จำลองเสร็จแล้ว  ทั้งผู้ปั้นและสมาชิกคนอื่น ๆ ออกจากบทบาทที่ถูกปั้นนั้น  แล้วมาร่วมกันอภิปรายถึงประสบการณ์  ความรู้สึก แ ละการหยั่งรู้  (insight)  ที่เกิดขึ้นจากการร่วมกิจกรรมประติมากรรมนั้น(เมธินินทร์  ภิณญูชน.  2539 : 104 105)

คุณสมบัติของผู้ให้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว

          คุณสมบัติที่พึงประสงค์
<!--[if !supportLists]-->1.      <!--[endif]-->มีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยา
<!--[if !supportLists]-->2.      <!--[endif]-->มีความรู้และทักษะในการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มและรายบุคคล
<!--[if !supportLists]-->3.      <!--[endif]-->ผ่านการอบรมการให้คำปรึกษาเบื้องต้นหรือการบำบัดเบื้องต้น
<!--[if !supportLists]-->4.      <!--[endif]-->มีประสบการณ์ ใการบำบัดครอบครัว หรือการให้คำปรึกษาครอบครัวอย่างน้อย 1 ปี
<!--[if !supportLists]-->5.      <!--[endif]-->มีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นนักบำบัดครอบครัว
<!--[if !supportLists]-->5.1   <!--[endif]-->มีความเป็นมิตร มีสัมพันธภาพอันอบอุ่นกับผู้รับการบำบัด
<!--[if !supportLists]-->5.2   <!--[endif]-->มีความจริงใจ ไม่เสแสร้ง เป็นที่น่าไว้วางใจ
<!--[if !supportLists]-->5.3   <!--[endif]-->ยอมรับผู้รับการบำบัดโดยปราศจากเงื่อนไข
<!--[if !supportLists]-->5.4   <!--[endif]-->รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
<!--[if !supportLists]-->5.5   <!--[endif]-->มีความเข้าใจ และเห็นใจผู้อื่น
<!--[if !supportLists]-->5.6   <!--[endif]-->ให้เกียรติและเคารพในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น
<!--[if !supportLists]-->5.7   <!--[endif]-->มีความสุขุมและมีความมั่นคงทางจิตใจ
<!--[if !supportLists]-->5.8   <!--[endif]-->มีความยืดหยุ่น ไม่ตายตัว ใจกว้าง เปิดตนเองให้กับประสบการณ์ใหม่ ๆ
<!--[if !supportLists]-->5.9   <!--[endif]-->มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือและบริการ
5.10 มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ
5.11 มีความมั่นใจในตนเอง
5.12 สามารถรักษาความลับได้
5.13 มีจรรยาบรรณวิชาชีพ
<!--[if !supportLists]-->6.      <!--[endif]-->มีความรู้เกี่ยวกับ การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย
<!--[if !supportLists]-->7.      <!--[endif]-->มีความรู้เกี่ยวกับ กหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติสิทธิผู้ป่วยกฏหมายวิชาชีพ


บทบาทหน้าที่ของผู้ไห้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว


   ผู้ให้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัวต้อง
<!--[if !supportLists]-->1.      <!--[endif]-->สามารถสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นมิตร ที่ก่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่ง
กันและกันระหว่างผู้รับการบำบัดและนักบำบัด
<!--[if !supportLists]-->2.      <!--[endif]-->สามารถสื่อให้ผู้รับการบำบัดเข้าใจวัตถุประสงค์ของการบำบัดครอบครัว
<!--[if !supportLists]-->3.      <!--[endif]-->ช่วยให้ผู้รับการบำบัดมีความเข้าใจตนเองและบริบทแวดล้อม
<!--[if !supportLists]-->4.      <!--[endif]-->สนับสนุน ให้กำลังใจ เอื้ออำนวยความสะดวก ที่จะช่วยให้ผู้รับการบำบัด พยายามแก้ปัญหา และสามารถตัดสินใจด้วยตนเอง ตลอดจน สามารถ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตนเองและปรับตัวได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
<!--[if !supportLists]-->5.      <!--[endif]-->ให้กำลังใจผู้รับการบำบัดในการแก้ปัญหา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเอง ตลอดทั้ง วางแผนเพื่ออนาคต
<!--[if !supportLists]-->6.      <!--[endif]-->สามารถประสานงานกับบุคลากรในหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ของผู้รับการบำบัด
<!--[if !supportLists]-->7.      <!--[endif]-->ติดตามผลและประเมินผลของการให้บริการการบำบัดครอบครัว
<!--[if !supportLists]-->8.      <!--[endif]-->พัฒนายุทธวิธีในการบำบัดครอบครัวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น




แหล่งอ้างอิง : เอกสารประกอบการบรรยาย:การให้คำปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัว
                           ดร.เพ็ญนภา  กุลนภาดล   ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้รวบรวม คิงครีม อาย ออม







1 ความคิดเห็น:

  1. Did you hear there is a 12 word phrase you can speak to your man... that will induce intense feelings of love and instinctual attractiveness for you buried inside his chest?

    Because hidden in these 12 words is a "secret signal" that fuels a man's instinct to love, treasure and guard you with all his heart...

    12 Words Who Trigger A Man's Love Instinct

    This instinct is so built-in to a man's mind that it will drive him to work harder than before to make your relationship the best part of both of your lives.

    In fact, fueling this powerful instinct is so mandatory to getting the best possible relationship with your man that the instance you send your man one of the "Secret Signals"...

    ...You will immediately notice him expose his soul and heart to you in such a way he haven't expressed before and he will distinguish you as the only woman in the world who has ever truly understood him.

    ตอบลบ