วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556


บริการแนะแนว
ความหมายของการแนะแนว
       การแนะแนว มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Guidance มีความหมายต่างจากคำว่า การแนะนำ Advice และต่างจากคำว่า การช่วยเหลือด้วยการสังเคราะห์ Aid or assistance มีผู้ให้ความหมายของการแนะนำไว้ดังนี้ การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมการแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้
ความสำคัญของการแนะแนว
      จุดหมายของการแนะแนว คือการป้องกันปัญหา แก้ไขพฤติกรรมทุกอย่างที่ผิดปกติและการพัฒนาให้ทุกคนไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ต้องการ การแนะแนวจะช่วยให้ครูเข้าเด็กยิ่งขึ้น ครูเข้าใจลักษณะการเจริญเติบโตของเด็กดีขึ้น เข้าใจความต้องการของเด็ก เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกลุ่มเรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่น ๆ ให้แก่เด็กได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ครูกับผู้ปกครองมีการประสานงานกัน เพื่อความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบ้านกับโรงเรียน ผู้เรียนบรรลุถึงจุดมุ่งหมายปลายทางของหลักสูตรที่กำหนด ช่วยโรงเรียนได้นำแหล่งวิทยาการในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่แนะแนวของโรงเรียนจะเกิดประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับครูผู้ทำหน้าที่แนะแนวที่จะเข้าใจบทบาทของตนเองและกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม นักเรียนจะได้รับประโยชน์ในการจัดบริการแนะแนวได้อย่างเต็มที่
ประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการแนะแนว
       1.ประโยชน์แก่ผู้ปกครองหรือบิดามารดา
           1.1 ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว
           1.2 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ
           1.3 รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อไป
       2.ประโยชน์ต่อนักเรียน
           2.1 ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา
           2.2 ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล
           2.3 ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ใสังคมอย่างมีความสุข
       3.ประโยชน์แก่ครู
           3.1 ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น
           3.2 ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
           3.3 ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดีขึ้น
        4.ประโยชน์แก่โรงเรียน
           4.1 ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
           4.2 ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็นต้น
หน้าที่และหลักการแนะแนว
    หน้าที่และหลักการแนะแนวสำคัญ ๆ ที่ต้องคำนึงถึงในการปฏิบัติงานแนะแนว มีดังนี้
             1.การให้บริการแนะแนวต้องยึดปรัชญาการแนะแนว เช่น บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ความสนใจ ความสามารถ ความถนัดและเจตคติ
             2.จัดบริการให้ครอบคลุมและเป็นระบบต่อเนื่องกัน เช่น การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนต้องจัดจัดให้ครอบคลุมขอบข่ายทั้ง 3 ด้าน และบริการ 5 บริการ
             3. การแนะแนวในโรงเรียนจัดบริการให้แก่นักเรียนทุกคน ไม่ใช่จัดให้เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาเท่านั้น แต่ส่งเสริมพัฒนากรณีที่นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์อยุ่แล้ว
             4.การแนะแนวต้องคำนึงถึงปรัชญาของการแนะแนวที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล
             5.การแนะแนวเป็นกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย ทั้งจากบุคคลภายนอก-ในของโรงเรียน
ขอบข่ายการแนะแนว
             การแนะแนวมีขอบข่ายสาระสำคัญ 3 ด้าน คือ
              1.การแนะแนวการศึกษา มุ่งหวังให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนได้เต็มศักยภาพ รู้จักแสวงหาความรู้ และวางแผนการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวด้านการเรียนและมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน
              2.การแนะแนวอาชีพ มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและโลกของงานอย่างหลากหลาย มีเจตคติและนิสัยที่ดีในการทำงาน มีโอกาสได้รับประสบการณ์ และฝึกงานตามความถนัด ความสนใจ
              3.การแนะแนวส่วนตัวและอาชีพ การแนะแนวส่วนตัวและสังคมเป็นการช่วยเหลือให้มีชีวิต หรือความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์ มีความเจริญทั้งร่างกายและจิตใจ มีความเข้าใจตนเอง มีอารมณ์ที่มั่นคง มีความสามารถที่ปรับตัวให้เข้ากับสังคมร่วมกันอย่างมีความสุข รู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นหรือสังคมได้ มีความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ทำให้การศึกษามีการพัฒนาตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะไม่เป็นบุคคลที่จะต้องดำเนินชีวิตด้วยตนเอง
    
บริการแนะแนวที่จัดขึ้นในสถานศึกษา
             1. บริการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล
             2. บริการสนเทศ
             3. บริการให้คำปรึกษา
             4. บริการจัดวางตัวบุคคล
             5. บริการติดตามผลและวิจัย
1.บริการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)
     บริการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล เป็นบริการอันดับแรกของบริการแนะแนวเป็นบริการที่ทำให้ผู้แนะแนวและครูสามารถรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ช่วยให้ผู้แนะแนวสามารถรู้จักนักเรียนมากยิ่งขึ้น และสามารถหาทางช่วยเหลือได้ถูกต้องยิ่งขึ้นการศึกษาและสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล ช่วยให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนว เช่น ผู้บริหาร ครู แนะแนว ครู รวมทั้งบิดามารดาหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถรู้จักและเข้าใจนักเรียนได้อย่างดีการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ การรวบรวมข้อมูล
        การที่จะสามารถรวบรวมข้อมูลได้ต้องมีหลัก ดังนี้      
1. ข้อมูลที่ได้ต้องเป็นข้อมูลที่ชัดเจน สามารถเข้าใจง่าย
2. ข้อมูลที่จัดหาต้องตรงตามความเป็นจริง และเป็นข้อมูลที่สรรหามาอย่างดี
3. เป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เท่าทันเหตุการณ์ ไม่ล้าสมัย
4. เมื่อได้ข้อมูลหลาย ๆ อย่างแล้ว ต้องเก็บรวบรวมเข้าด้วยกันจัดให้เข้าพวกเข้าหมูอย่างมีระเบียบ
5. ข้อมูลที่ได้ต้องเก็บเข้าแฟ้มให้เรียบร้อย เพื่อจะได้สามารถค้นหาได้ง่ายและสามารถนำมาใช้ได้รวดเร็วเมื่อต้องการจะใช้

2.บริการสนเทศ (Information Service)
              บริการสนเทศให้ความรู้ ข่าวสารต่าง ๆ ทั้งทางด้านการศึกษา การเลือกอาชีพ และการปรับตัวเข้ากับสังคมบริการสนเทศ จะให้ความรู้ข่าวสารนอกเหนือจากการเรียน ช่วยให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นบริการสนเทศ นอกจากจะให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับนักเรียนแล้ว ยังจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะวางแผนการในชีวิต และวางจุดประสงค์ที่จะช่วยสร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพต่าง ๆ รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่นและสนใจในการปฏิบัติงานนอกจากนั้น บริการสนเทศยังส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ อย่างถูกต้องและเป็นไปตามหลักของธรรมชาติ
             บริการสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. บริการสนเทศทางการศึกษา (Educational Information)
2. บริการสนเทศทางอาชีพ (Occupational Information)
3. บริการสนเทศทางด้านส่วนตัวและสังคม (Personal Information)        

3.บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service)
              บริการให้คำปรึกษานับว่าเป็น หัวใจของบริการแนะแนวซึ่งถือว่าเป็นบริการที่สำคัญที่สุดในบริการแนะแนว การบริการแนะแนวที่จัดขึ้นในสถานศึกษาจะขาดบริการให้คำปรึกษาเสียมิได้บริการให้คำปรึกษา จึงเป็นบริการที่ทุกคนรู้จักดีบางครั้งมีผู้สับสนว่าบริการแนะแนวก็คือ บริการให้คำ ปรึกษานั่นเองทั้งนี้เพราะบริการแนะแนวจะจัดบริการให้คำปรึกษาอย่างเป็นทางการ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าบริการอื่น ๆ ความจริงแล้วการบริการให้คำปรึกษานั้นเป็นบริการหนึ่งของบริการแนะแนว
4.บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)
            การจัดวางตัวบุคคลเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับบริการต่าง ๆ ข้างต้น เป็นการวางตัวบุคคลให้เหมาะสมกับงานตามที่คัดเลือก เป็นบริการที่ช่วยให้บุคคลได้เรียนตามวิชาที่ตนเองชอบ ช่วยให้มีโอกาสเรียนและประกอบอาชีพตรงตามความสามารถ ของตนเอง เป็นบริการที่จัดขึ้นช่วยเหลือนักเรียนทั้งที่ยังศึกษาอยู่ในโรงเรียนและสำเร็จการศึกษาไปแล้ว
5.บริการติดตามผลและวิจัย (Follow-up Service)
            บริการติดตามผล เป็นบริการสุดท้ายของบริการแนะแนว เป็นการติดตามดูว่าการจัดบริการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินไปแล้วนั้น ได้ผลมากน้อยเพียงใด นักเรียนที่ออกจากโรงเรียนไปแล้วนั้นทั้งจบการศึกษาและยังไม่จบการศึกษาประสบปัญหาอะไรบ้าง รวมทั้งการติดตามผลดูนักเรียนที่ยังศึกษาอยู่ในโรงเรียนและจบการศึกษาไปแล้วว่าประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาหรือไม่
วิธีการติดตามผล อาจทำได้ดังนี้
1. การสัมภาษณ์นักเรียนด้วยตนเอง เพื่อจะได้ทราบถึงผลของการช่วยเหลือว่าประสบความสำเร็จหรือไม่เพียงใด
2. การสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดนักเรียน เช่น เพื่อนนักเรียน เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง บิดามารดา เพื่อทราบถึงผลของการบริการ
3. การส่งแบบสอบถามไปยังนักเรียนที่จบการศึกษาไปแล้ว หรือนักเรียนในโรงเรียนกรอรแบบสอบถาม เพื่อจะได้ทราบผลของการให้บริการ

แหล่งที่มา http://www.learners.in.th/blogs/posts/269938
สมาชิกผู้จัดทำคะ  :)
คิง ครีม อาย ออม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น