วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556


การให้คำปรึกษา   

การให้คำปรึกษาหมายถึง

          การสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมายของบุคคลสองคน ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเชิงจิตวิทยาเฉพาะส่วนบุคคล โดยบุคคลหนึ่งเป็นผู้ให้บริการ  ซึ่งต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะทางตลอดจนสามารถนำเทคนิคต่างๆในการให้คำปรึกษาไปใช้ เพื่อใช้ความช่วยเหลือแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีปัญหา ให้เขาสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆในปัจจุบันได้อย่างฉลาดเหมาะสมและมีทักษะในการแก้ปัญหาอื่นๆในอนาคตได้ด้วยตนเอง  มีทักษะและความสามารถในการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นหากนักเรียนมีปัญหาทุกข์ใจหรือตัดสินใจอะไรบางอย่างไม่ได้ แล้วครูจะต้องให้คำปรึกษา  ครูจะต้องตระหนักเสมอว่าบทบาทของครู คือช่วยให้นักเรียนได้เรียนรุ๋เกี่ยวกับตนเองมากขึ้น เข้าใจสภาพการณ์ และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เรียนรู้ทักษะและวิธีการที่จะทำให้ผ่อนคลายหรือแก้ปัญหาของตนเองได้ดีขึ้น ตัดสิ้นใจอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งย่อมไม่ได้การไปแก้ปัญหาหรือตัดสินใจให้นักเรียนโดยที่ตัวผู้เรียนเองไม่ได้เกิดการพัฒนาในประเด็นที่กล่าวมานั้นเลย
จุดมุ่งหมายของการให้คำปรึกษา
- ช่วยให้บุคคลมีความรู้สึกว่าตนเองไม่โดดเดี่ยวเมื่อเกิดปัญหา
-
ช่วยทำให้บุคคลสามารถรู้จักและเข้าใจตนเองได้อย่างถูกต้อง
-
ช่วยให้บุคคลรู้จักใช้ความคิด ใช้สติปัญญาที่มีทั้งหมดนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
-
ช่วยให้บุคคลเกิดความกระจ่างขึ้นในใจ มองเห็นลู่ทางในการแก้ไขปัญหา
-
ช่วยให้บุคคลเห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการแนะแนว
-
ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้
-
ช่วยให้บุคคลรู้จักความอดทน เสียสละ ยอมรับต่อสภาวการณ์ที่แท้จริง
-
ช่วยให้บุคคลมีการพัฒนาการ และเจริญงอกงามไปถึงขีดสูงสุด


คุณสมบัติของผู้ให้คำปรึกษา
     1. ด้านความรู้ความสามารถ (Knowledge)  เนื่องจากการให้คำปรึกษา  แนะนำ  มีขอบข่ายกว้างขวาง  ผู้ให้คำปรึกษาจำเป็นต้องรู้หลักการและเทคนิคในการให้คำปรึกษา  ระเบียบ  ข้อบังคับ  ขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของคน ความต้องการของคน พฤติกรรมศาสตร์ แรงจูงใจ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ขอคำปรึกษาได้

     2. ด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human  Relation)  ตามแนวความคิดของมนุษยสัมพันธ์  เน้นในเรื่องความสำคัญของคน  ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร และเห็นว่าการเข้าใจคนจะช่วยให้การบริหารงานสำเร็จไปกว่าครึ่งหนึ่ง  ดังนั้น  ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ เพราะเป็นงานที่ต้องติดต่อกับคน  เช่น ผู้บริหาร  ผู้ใต้บังคับบัญชา  รวมทั้งบุคลากรอื่น ๆ ในหน่วยงาน  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ขอคำปรึกษาช่วยให้การให้คำปรึกษาเกิดความร่วมมือในการหาหนทางในการแก้ปัญหาด้วยกัน

     3. ด้านจริยธรรม (Ethics)  ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำต้องรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ของบุคคลอื่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งในการปฏิบัติงานผู้ให้คำปรึกษาแนะนำจำเป็นต้องรักษาความลับของผู้ขอคำปรึกษา และการให้คำปรึกษาก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการไม่นำเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง  ต้องวางตัวเป็นกลางอยู่บนหลักการและเหตุผล โดยมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ การปฏิบัติอย่างยุติธรรมโดยทั่วหน้ากันไม่ว่าผู้ขอคำปรึกษาจะเป็นใคร  มีพฤติกรรมเช่นไร  ซึ่งจะทำให้ผู้ขอคำปรึกษารู้สึกปลอดภัยและเต็มใจเปิดเผยข้อมูลสำคัญ ๆ แก่ผู้ให้คำปรึกษา
หลักการสำคัญของการให้    คำปรึกษา   
1.  ยึดเอาผู้มีปัญหาเป็นหลัก                                        
2.  เน้นที่อารมณ์ความรู้สึกของผู้มีปัญหา                                         
3.  เข้าใจและยอมรับในอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของผู้มีปัญหา
4. ไม่ด่วนสรุป หรือตัดสินผู้มีปัญหา           
5.  เน้นที่ความเป็นจริงตามเหตุการณ์และสถานการณ์  
6.  มีการโต้ตอบเป็นจริงตามเหตุการณ์และสถานการณ์ 
7.  ผู้มีปัญหาเกิดการเรียนรู้ด้วยเหตุของปัญหา และตัดสินใจเลือกทางแก้ไข ด้วยตนเอง 

บทบาทหน้าที่ของผู้ให้คำปรึกษา

     1. ทำหน้าที่ให้บริการ (Service) ในการปฏิบัติงานของผู้ให้คำปรึกษา จะให้คำปรึกษาแก่
ผู้บริหาร  ผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่องกฎระเบียบ  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  การจัดหาข้อมูล  การวางแผน
อัตรากำลัง  ปัญหาค่าจ้าง  ข้อร้องทุกข์  ความขัดแย้ง ปัญหาส่วนตัว ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
เป็นต้น

     2. ทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator) ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องแสดงบทบาทเกี่ยวกับการไกล่
เกลี่ยให้เกิดความสัมพันธ์ของบุคคลหรือกลุ่ม  การให้คำปรึกษาเพื่อลดปัญหา ข้อร้องทุกข์ อุทธรณ์และ
ลดความขัดแย้งในหน่วยงาน  เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย ปรองดองกัน ระงับข้อขุ่นข้องหมองใจ ความ
ไม่เข้าใจกัน

     3. ทำหน้าที่ผู้ประสานงาน (Coordinator) ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำทำงานเกี่ยวข้องกับคน
จำนวนมาก  ทั้งผู้บริหาร  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และบุคคลอื่น ๆ  การดำเนินงานในองค์การย่อมต้องการ
ผู้ประสานงานที่จะช่วยให้บุคคลต่าง ๆ  ในองค์การสามารถทำงานร่วมกันได้  ผู้ให้คำปรึกษาจะแสดง
บทบาทเป็นผู้ประสานงาน  ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทุกระดับ  บางครั้งอาจต้อง
ประสานงานกับบุคคลภายนอก  เช่น  จิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย หรือผู้เชี่ยวชาญสาขา
อื่น ๆ เป็นต้น

     คุณสมบัติและบทบาทของผู้ให้คำปรึกษาตามที่กล่าวมาข้างต้น  เป็นสิ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาควรจะมี
และควรจะเป็น ขณะเดียวกันผู้ให้คำปรึกษาควรจัดตารางเวลาการให้คำปรึกษาตามความสามารถของ
ตนเพื่อให้การปฏิบัติงานแตกต่างกัน  บางคนอาจให้คำปรึกษาได้วันละ 7 - 8  ราย  แต่บางคนจะทำได้
เพียง 2 - 3 รายต่อวัน  เนื่องจากต้องมีกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย อัตราการให้คำปรึกษาต่อวันจึงขึ้นอยู่กับผู้ให้
คำปรึกษาแต่ละคน  แต่การให้คำปรึกษา 1 ราย ไม่ควรใช้เวลาเกิน 45 - 50  และเป็นการให้คำปรึกษา
ในสถานที่ ไม่ควรนัดหมายหรือให้คำปรึกษานอกสถานที่ดังนั้นผู้ให้คำปรึกษาควรพิจารณาว่าตนเองมี
ความพร้อมในด้านร่างกาย  และจิตใจ  ที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถและมี
ประสิทธิภาพ บางปัญหาอาจไม่ตรงกับความสามารถของผู้ให้คำปรึกษา ก็ต้องส่งต่อผู้ขอคำปรึกษาไป
ยังผู้ช่วยชาญต่อไป โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของตนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้ขอคำปรึกษาจะได้รับด้วย

ประเภทของการให้คำปรึกษา

การให้คำปรึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

     1. การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Counseling)

  การให้คำปรึกษาประเภทนี้เป็นแบบที่ได้รับความนิยม และถูกนำมาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ การให้คำ
ปรึกษาจะเป็นการพบกันระหว่างผู้ให้คำปรึกษา 1 คน  กับผู้ขอคำปรึกษา 1 คน โดยร่วมมือกัน  การให้
คำปรึกษาแบบนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้ขอรับคำปรึกษาให้สามารถเข้าใจตนเอง  เข้าใจปัญหา และ
สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง หรือเพื่อให้สมาชิกในองค์การ  เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานให้สูงขึ้น  ทำให้คนในองค์การได้ตระหนักถึงความรู้สึกเกี่ยวกับปฏิกิริยาและการแสดงออกของ
อารมณ์ของตนและผู้อื่น  เข้าใจความสำคัญของทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม แรงจูงใจ พฤติกรรมต่าง ๆ
ของบุคคล เข้าใจความสำคัญของการเสริมแรงและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คนสามารถกำหนดเป้า
หมายและการประพฤติปฏิบัติของตนเองได้

     2. การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (Group Counseling)

     การให้คำปรึกษาประเภทนี้  หรืออาจเรียกว่าการให้คำปรึกษาเชิงกระบวนการ  เป็นกระบวนการที่
บุคคลที่มีความต้องการหรือปัญหาที่คล้ายกันหรือตรงกัน ต้องการปรับปรุงตนเองในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือต้องการจะแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งร่วมกัน  มารวมกันเป็นกลุ่มเพื่อปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน
โดยมีผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้ช่วยเหลือกลุ่ม  สมาชิกในกลุ่มประมาณ  7 - 9  คน  ต่อผู้ให้คำปรึกษา 1 คน
สมาชิกในกลุ่มเป็นผู้พิจารณากำหนดปัญหา แสดงออกเกี่ยวกับความรู้สึกและความคิดเห็นของแต่ละคน
เป็นการได้ระบายความรู้สึกและความคิดเห็นของแต่ละคน เป็นการได้ระบายความรู้สึกขัดแย้งในจิตใจ
ได้สำรวจตนเอง ได้ฝึกการยอมรับตนเอง กล้าที่จะเผชิญปัญหาและได้ใช้ความคิดในการแก้ปัญหา หรือ
ปรับปรุงตนเองกับทั้งที่ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  และได้ตระหนักว่าผู้อื่นก็มีความขัดแย้งหรือ
ความคิดเห็นเช่นเดียวกับตนไม่ใช่เขาคนเดียวที่มีปัญหาและอย่างน้อยยังมีอีกคนหนึ่งคือ ผู้ให้คำปรึกษา
ที่ยอมรับและเข้าใจเขา  ผู้ให้คำปรึกษาจะให้ข้อพิจารณา  ให้คำแนะนำว่าเพื่อให้กลุ่มเข้าใจปัญหาที่เป็น
อยู่ ช่วยกันคิดหรือปรึกษาหารือในทางเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา แต่กลุ่มต้องตัดสินในเลือกทางเลือกใน
การแก้ปัญหาเอง  วิธีการให้คำปรึกษาแบบนี้สมาชิกของกลุ่มจะร่วมกันคิด  แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้เกิด
ความคิดเห็นต่างกัน และการกระทำต่างกัน ทำให้การปฏิบัติงานโดยร่วมมือกัน การทำงานก็มีประสิทธิ
ภาพ  และอีกประการหนึ่งการใช้วิธีนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนเปิดโอกาสให้
สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนได้เสนอแนะความคิดเห็นต่าง ๆ ซึ่งทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจว่าตนเอง
สามารถให้ข้อคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มได้

กระบวนการให้คำปรึกษา
 1. การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย (Objective)
     การให้คำปรึกษาจำเป็นต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษา เพื่อให้ทราบว่าเราให้คำ
ปรึกษาเพื่ออะไร  ต้องการให้ผู้ขอคำปรึกษาบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอะไร เช่น เพื่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่ไม่ดีให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม หรือช่วยให้
ผู้ขอคำปรึกษาสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำแนวทางของการตัดสินใจไปปฏิบัติได้
อย่างเหมาะสม อาทิ การพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ การปรับปรุงงานการเข้าใจตนเองและผู้อื่น ๆ เป็นต้น
 2. การรวบรวมข้อมูล (Data Collecting)
     ในขั้นตอนที่สองหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์ในการให้คำปรึกษาแล้ว  ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องรวบ
รวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขอคำปรึกษาเพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้น  ทราบพื้นฐานของครอบครัว  ความรู้
ความสามารถ  ประวัติการทำงาน  ประสบการณ์ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการทางจิตวิทยา  เช่น  การสังเกต
การศึกษา  ประวัติ การทดสอบ หรือไม่ทดสอบ  การสัมภาษณ์  เป็นต้น

 3. การวิเคราะห์ปัญหา/สาเหตุ (Cause Analysis)
     ภายหลังจากรวบรวมข้อมูลแล้ว  ผู้ให้คำปรึกษาจะนำข้อมูลเบื้องต้นมาวิเคราะห์เพื่อวินิจฉัยปัญหา
การค้นหาสาเหตุของปัญหา  การคาดคะเนพฤติกรรมเพื่อให้ทราบที่มาของปัญหาของผู้ขอคำปรึกษา
เช่น  ผู้ขอคำปรึกษามีความกังวลใจ  ความขัดแย้งในใจ  ไม่ทราบว่าจะปฏิบัติงานใดก่อนหลัง  ทำให้
ไม่สามารถทำงานสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย จากการวิเคราะห์ปัญหา โดยข้อมูลของผู้ขอคำปรึกษา
ทำให้ทราบว่า  ผู้ขอคำปรึกษาขาดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ  ทำให้เกิดความลังเลใจ ตัดสินใจ
ไม่ถูก เป็นต้น
 4. การให้คำปรึกษา (Counseling)
     ขั้นตอนนี้เป็นการพบกันระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้ขอคำปรึกษา เพื่อร่วมมือกันค้นหาวิธีแก้ปัญหา
หรือเลือกตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม โดยผู้ให้คำปรึกษาจะต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ขอคำปรึกษา
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ผู้ให้คำปรึกษาต้องให้เกียรติผู้ขอคำปรึกษา แสดงความเป็นมิตร เพื่อให้ผู้
ขอคำปรึกษามีความรู้สึกอบอุ่นใจ ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาความลับได้  เมื่อเกิดความคุ้นเคยและไว้วาง
ใจกันแล้ว การให้คำปรึกษาก็จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของผู้ขอคำปรึกษา ซึ่งผู้ให้คำปรึกษา
จะเลือกใช้วิธีการให้คำปรึกษาแบบใดมาใช้ เช่น การให้คำปรึกษาแบบนำทาง ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีปัญหา
เกี่ยวกับการตัดสินใจ ไม่เข้าใจตนเอง  สำหรับการให้คำปรึกษาแบบไม่นำทาง เหมาะกับผู้ขอคำปรึกษา
ที่มีปัญหาทางอารมณ์  หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันซึ่งเรียกว่า  การให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วม  เป็นต้น แต่ถ้ากรณีของปัญหาหรือสิ่งที่ผู้ขอคำปรึกษาต้องการให้ช่วยเหลือเกินขอบข่ายความสามารถของผู้ให้
คำปรึกษา  ก็อธิบายให้ผู้ขอคำปรึกษาทราบและส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป  เช่น  นัก
กฎหมาย  แพทย์  หรือจิตแพทย์  ดังนั้น การให้คำปรึกษาจึงเป็นการรับฟังอย่างเห็นใจ เข้าใจ วินิจฉัย
ปัญหาให้ฟัง เสนอแนะพร้อมชี้แจงเหตุผล ตัดสินใจเช่นนั้น  เกิดผลอย่างไร ส่วนการตัดสินใจเป็นของ
ผู้ขอคำปรึกษาที่ต้องตัดสินใจเอง
 5. การประเมินผล (Evaluation)
     เมื่อการให้คำปรึกษาสิ้นสุดลง ผู้ให้คำปรึกษาจำเป็นต้องตรวจสอบผลของการให้คำปรึกษารวมทั้ง
การให้ความช่วยเหลือว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้เพียงใด ถ้าหากมีข้อบกพร่องนี้จะนำ
ไปปรัปปรุงแก้ไขวิธีการให้คำปรึกษาให้ดีขึ้นไปอีก  แต่ถ้าการให้คำปรึกษาบรรลุผลตามเป้าหมายที่
กำหนดไว้ก็สามารถนำเป็นแบบอย่างไปใช้กับผู้ขอคำปรึกษาที่มีปัญหา  หรือกรณีใกล้เคียงกันได้  การ
ประเมินผลอาจประเมินผลการให้คำปรึกษาหรือผู้ให้คำปรึกษาก็ได้ หรืออาจจะประเมินผลทั้งสองกรณี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการประเมินผล
รูปแบบการให้คำปรึกษา
 สามารถจำแนกได้ 3 แนวทาง คือ
1. การให้คำปรึกษาแบบนำทาง
              การให้คำปรึกษารูปแบบนี้จะยึดให้ผู้ศึกษาเป็นศูนย์กลาง โดยมีแนวทางเชื่อว่า การที่คนเราสามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆ หรือแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นรู้จักตนเองรู้ในขอบเขตความสามารถ
2. การให้คำปรึกษาไม่นำทาง
              การให้คำปรึกษาแบบนี้ยึดผู้มาขอรับการศึกษาเป็นศูนย์กลาง  บุคคลมีความสามารถในกาแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง หากเขาได้ระบายความคับข้องใจ ความทุกข์ใจ ความตึงเครียดทางอารมณ์ต่างๆ ออกไป และมีความรู้จักและสามารถเข้าใจตนเอง
3. การให้คำปรึกษาแบบผสม
               ผู้ให้คำปรึกษามีอิสระที่จะใช้วิธีการหรือหลักการอะไรก็ได้ที่เห็ฯว่ามีความเหมาะสมกับลักษณะของผู้มาขอรับการศึกษาในแต่ละขณะ


รวบรวมโดย พวกเรา สี่สาวสู้ซ่า  อิอิ
                     คิง ครีม อาย ออม  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น